เพราะเหตุใดจึงต้องจดทะเบียนเลิกบริษัท
เมื่อรู้ล่วงหน้าแล้วว่าต้องการที่จะเลิกกิจการ ควรเตรียมพร้อมในเรื่องใดบ้าง บทความนี้จะตอบคำถามที่หลายคนสงสัยหรือถามเข้ามาบ่อยๆ เชื่อได้เลยว่าเมื่อรู้แล้วความรู้แน่นเตรียมพร้อมจดทะเบียนอย่างแน่นอน
บทความนี้จะไม่รวมประเด็นของการลงมติผู้ถือหุ้น เพราะสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการพูดคุยกันในกลุ่มผู้ถือหุ้นว่าอยากจะยกเลิกกิจการแล้วจริงๆ จึงจะเตรียมพร้อมในส่วนของบทความนี้และดำเนินการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป ในเรื่องของการ จดทะเบียนเลิกบริษัท
การเตรียมพร้อมอย่างแรกเลย บริษัทควรที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้เรียบร้อยก่อน ต้องหาทางในการจัดเก็บเงินของลูกหนี้ให้ได้ เนื่องจากเมื่อ จดทะเบียนเลิกบริษัท ไปแล้ว จะไม่สามารถตามเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ และสำหรับเจ้าหนี้บริษัทควรที่จะเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันหรือจ่ายชำระให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
การเตรียมพร้อมส่วนที่สอง หากบริษัทของคุณมีสินค้าคงเหลือ เราแนะนำให้ขายออกไปทั้งหมดให้เหลือศูนย์ให้ได้ เพราะถ้าเกิดมีสินค้าคงเหลือ มันจะไปโผล่ในงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ความคิดเห็นส่วนตัวทางที่ดีบริษัทไม่ควรมีสินค้าคงเหลือ เพื่อการดำเนินการที่สะดวกและคุยกับเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ง่ายขึ้น
ต่อมาขั้นตอนที่สำคัญในการ จดทะเบียนเลิกบริษัท คือ การเตรียมเอกสาร มีดังต่อไปนี้
- (ก) แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
- (ข) รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
- (ค) สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
- (ง) สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระ บัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือ กำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
- (จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป (ใช้เฉพาะกรณีที่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
- (ฉ) สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
- (ช) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
- (ฌ) สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
- (ญ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท)